แนวทางการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้มั่นคง ภายใต้บทบาทประธานอาเซียนของไทยในปี พ.ศ.๒๕๖๒

ตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเป็นวาระที่หมุนเวียนมาบรรจบในปีนี้ ซึ่งที่ผ่านมามีการสลับกันทุกปีระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ โดยเรียงตามลำดับอักษรตัวแรก ปีที่ผ่านมาเป็นสิงคโปร์ ปีนี้เป็นของไทย และปีหน้าจะเป็นเวียดนามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของไทยคือ 1 ปีเต็ม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง

31 ธันวาคม 2562 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เริ่มหน้าที่เป็นประธานอาเซียนอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางความท้าทายที่มากขึ้นในโลกยุคดิจิทัล โดยเฉพาะปัญหาการแข่งขันด้านการค้าระหว่างมหาอำนาจที่เข้มข้นขึ้น ความมั่นคงทางไซเบอร์ หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์

ปีนี้นับเป็นปีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากจะครบรอบ 52 ปีของอาเซียนแล้ว ไทยยังรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2562 นี้ด้วย ความท้าทายของประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน คือ ต้องแสดงบทบาท

นำในการการผลักดันให้อาเซียนเป็นแกนกลาง (ASEAN Centrality) ของสถาปัตยกรรมทางภูมิภาคทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริงรวมทั้งการเปิดมุมมองให้คนไทยพร้อมรับมือกับการเป็นประธานอาเซียน และการเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการจัดประชุมต่างๆ กว่า 180 ครั้งที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปีนี้

โดยแนวคิดหลักของการเป็นประธานอาเซียนของไทย (Theme) คือ AdvancingPartnership for Sustainability หรือในชื่อภาษาไทย ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน หมายถึง การที่อาเซียนจะต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันในทุกภาคส่วนและร่วมมือบนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งภาคีภายนอกภูมิภาคและประชาคมโลกเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมีพลวัต สู่อนาคตที่มีความยั่งยืนในทุกมิติ

ซึ่งแนวทางนี้จะนำมาซึ่งความกินดี อยู่ดีและสันติสุขของประชาชนอาเซียนศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ในฐานะคลังสมองของกองทัพ ได้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทการเป็นประธานอาเซียนของไทยในปี พ.. 2562 จึงได้จัดทำเอกสารวิชาการ เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้มั่นคง ภายใต้บทบาท

ประธานอาเซียนของไทยในปี พ..2562 ขึ้น เพื่อศึกษาบริบทแวดล้อมในห้วงที่ไทยรับบทบาทเป็นประธานอาเซียน และสนับสนุนมุมมองทางวิชาการในประเด็นสำคัญที่อาเซียนและไทยควรร่วมกันผลักดันให้ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาดังกล่าว